ค้นหาบล็อกนี้

2553-01-11

"13 หนทางฝ่าวิกฤติ...ผ่อนบ้านไม่ ไหว

"13 หนทางฝ่าวิกฤติ...ผ่อนบ้านไม่
ไหว
 
"13 หนทางฝ่าวิกฤติ...ผ่อนบ้านไม่
ไหว

           ความผันผวนของเศรษฐกิจบ้านเราที่ดีๆ ร้ายๆ
สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปอยู่ตลอดเวลานับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากจำต้องเผชิญปัญหา
"กระแสรายได้มีไม่พอที่จะผ่อนชำระค่างวดบ้าน" ไปตามๆ กัน

           ซึ่งปัญหาลักษณะนี้หากปล่อยปละละเลย
หรือแก้ไขอย่างไม่ถูกต้องแล้ว
ก็จะมีผลทำให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตรุนแรงขึ้นได้
อาจเลวร้ายจนถึงขั้นต้องถูกฟ้องร้องและสูญเสียบ้านอยู่อาศัยไปในที่สุดและยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาอื่นๆ
ในครอบครัวตามมาอีกนานัปการ

           ที่จริงแล้วการผ่อนบ้านไม่ไหวเป็นปัญหาระยะสั้นชั่วครั้งชั่วคราว
ที่ไม่ใช่ปัญหาเลวร้ายแต่ประการใด
เป็นเพียงปัญหาปกติที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้

           เพียงทว่าผู้โชคร้ายที่ตกอยู่ในภาวการณ์ดังกล่าวจะต้องรีบรักษาและเยียวยาให้ได้อย่างทันท่วงทีเท่านั้น
ก็จะสามารถผ่อนหนักเป็นเบา และหลุดรอดจากห้วงเวลาที่เกิดวิกฤติการณ์ได้


เป็นที่น่าเสียดายว่าการถูกยึดบ้านหรือถูกฟ้องล้มละลายของคนจำนวนมากล้วนเกิดขึ้นจากสาเหตุจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นสำคัญ
จากการไม่ได้ดูแลจัดการปัญหาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก
ทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตกลายเป็นวิกฤติการณ์จนยากเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ในที่สุด

           ปกติเวลาคนทั่วไปเผชิญกับปัญหาผ่อนค่างวดบ้านไม่ได้
สิ่งที่นิยมกระทำกันก็คือหยุดส่งค่างวดไปเฉย ๆ พร้อมๆ
กับการหนีหายไม่ติดต่อกับสถาบันการเงิน

           การจัดการปัญหาลักษณะนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดเป็นอย่างยิ่ง
เพราะเป็นการซ้ำเติมให้สภาพปัญหายิ่งเลวเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

           แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
ก็คือจะต้องรีบเจรจาขอผ่อนผันและประนอมหนี้กับสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ให้ได้
เพื่อปรับแต่งเงื่อนไขข้อผูกพันรายจ่ายค่างวดบ้านใหม่เป็นการชั่วคราว
ให้เกิดสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่ายของครอบครัวขึ้นอันจะมีผลทำให้สามารถยืนหยัดฝ่าฟันจนกระทั่งวิกฤติการณ์ผ่านพ้นไปได้

           โดยทั่วไปแล้วคนที่เผชิญกับปัญหาผ่อนค่างวดบ้านไม่ได้มีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยจนถึงขั้นปัญหาขั้นรุนแรง
มีหนทางในการเจรจาเพื่อขอผ่อนผันและประนอมหนี้
กับสถาบันการเงินอยู่มากมายถึง 13 หนทางด้วยกัน คือ

           1. ขอผ่อนผันชำระยอดหนี้ค้างชำระ
โดยลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระคืนยอดหนี้ที่ค้างได้นานสูงสุด 36 เดือน
ติดต่อกันโดยทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรกเป็นการขอเฉลี่ยหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดออกเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ
กัน และผ่อนชำระคืนติดต่อกันทุกเดือน
ลักษณะที่สองเป็นการชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในเวลาที่ตกลง ( ไม่เป็นงวด )
หรือลักษณะสุดท้ายเป็นการขอชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนเป็นงวดๆ
ตามเวลาที่ตกลง

           2. ขอขยายเวลาชำระหนี้
ลูกหนี้สามารถขอขยายระยะเวลากู้เงินต่อไปได้ถึง 30 ปี นับจากปัจจุบัน
เพื่อลดเงินงวดให้น้อยลง
ซึ่งเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คืออายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอขยายแล้วจะต้องไม่เกิน
70 ปี และดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมด (ถ้ามี)
ลูกหนี้จะต้องชำระให้หมดเสียก่อน

           3. ขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดได้
ลูกหนี้สามารถขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระพร้อมกับขยายระยะเวลากู้เงินได้
โดยเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนการขอกู้เพิ่ม
ลูกหนี้จะต้องชำระเงินงวดอย่างสม่ำเสมอ
และเมื่อนำวงเงินที่ขอกู้เพิ่มรวมกับเงินต้นคงเหลือแล้ว
เงินงวดใหม่ต้องมากกว่าไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินงวดเดิม

           4. ขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน
ในบางช่วงเวลาลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือนได้
ปกติเงื่อนไขแบบนี้จะให้เฉพาะกับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระคืนที่ดีเท่านั้น
และระยะเวลาผ่อนชำระจะให้ได้นานสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว

           5. ขอชำระต่ำกว่าเงินงวดปกติ ปกติเงื่อนไขการขอผ่อนผันแบบนี้
มักกำหนดให้จำนวนเงินที่ชำระต่ำกว่าเงินงวดปกตินั้น
ต้องมากกว่าดอกเบี้ยประจำเดือนอย่างน้อย 500 บาท
ระยะเวลาผ่อนชำระได้นานสูงสุดไม่เกิน 2 ปี และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว

           6. ขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ
เป็นการขอผ่อนผันในกรณีที่ลูกหนี้ถูกปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากอัตราปกติ
ลูกหนี้สามารถแจ้งขอลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ชำระเงินได้หากลูกหนี้ได้ชำระเงินตามเงื่อนไข
คือชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในวันเดียว
(รวมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดด้วย)
หรือชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเท่ากับ 3 งวด

           7. ขอโอนบ้านให้กับสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราว
แล้วซื้อคืนภายหลัง ปกติสถาบันการเงินจะรับโอนหลักประกัน
โดยหักกลบลบหนี้ในจำนวนไม่เกิน 90 % ของมูลค่าหลักประกัน
หากมีหนี้ส่วนที่เกิน ลูกหนี้จะต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่โอน
โดยหลักประกันจะต้องอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
หรือในเขตเทศบาลของจังหวัดอื่นเท่านั้น
สถาบันการเงินจะคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 0.4 – 0.6 %
ของมูลค่าหลักประกัน ทำสัญญา 1 ปี เมื่อครบกำหนด 1 ปี
แล้วจะต่อสัญญาจากพฤติกรรมการอยู่อาศัยและการปฏิบัติตามสัญญาเช่า
ผู้เช่าต้องวางเงินประกันค่าเสียหายในวงเงินค่าเช่า 1 เดือน
พร้อมทั้งชำระค่าเช่าล่วงหน้า 1 เดือน ภายใน 3 ปี
นับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อผู้เช่ารายใดมีความประสงค์ที่จะขอซื้อคืน
สถาบันการเงินจะขายคืนให้
ราคาที่ขายคืนปกติจะพิจารณาจากยอดหนี้คงเหลือที่ใช้หักกลบลบหนี้กับหลักประกัน
ทั้งนี้ในการซื้อคืนของลูกหนี้ผู้เช่าอยู่อาศัยสามารถขอสินเชื่อได้ด้วย

           8. ขอให้สถาบันการเงินชะลอฟ้อง
เงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือลูกหนี้จะต้องชำระเงินติดต่อกันให้ทันงวดภายใน 6
เดือน แล้วผ่อนชำระต่อตามสัญญาเดิม หรือขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน
โดยไม่ผิดนัดเป็นเวลาไม่เกิน 12 เดือน
เมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาที่ขอผ่อนผันแล้ว
หากลูกหนี้ชำระหนี้ตามข้อตกลงโดยไม่ขาดส่ง
สถาบันการเงินก็จะคำนวณเงินงวดใหม่ที่ลูกหนี้ต้องชำระต่อไป

           9. ขอให้สถาบันการเงินถอนฟ้อง
เงื่อนไขในการขอประนอมหนี้แบบนี้ก็คือลูกหนี้ที่ถูกฟ้องจะต้องมาติดต่อชำระหนี้ทันงวดและไม่มีดอกเบี้ยค้าง
พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมศาลและค่าใช้จ่ายครบถ้วน

           10. ขอให้ชะลอการขายทอดตลาด
ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินยึดทรัพย์แล้วรอการขายทอดตลาด
อาจเจรจาขอให้ชะลอการขายไว้ก่อนได้
โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลค่าใช้จ่ายต่างๆ
ในชั้นฟ้องคดีและบังคับคดี
รวมทั้งค่าพาหนะในการเดินทางของทนายความไปเลื่อนการขายตามที่จ่ายจริงให้ครบถ้วน
แล้วให้ลูกหนี้ชำระหนี้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 งวด
โดยหนี้ที่เหลือต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักประกันใหม่
แล้วให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ใหม่

           11. ขอยอมความกับสถาบันการเงิน ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องคดีแล้ว
ลูกหนี้อาจขอยอมความกับสถาบันการเงินได้โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี และค่าทนายความให้ครบถ้วน
โดยเงื่อนไขของการขอยอมความที่สำคัญ
ก็คือลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือขอกำหนดเงินงวดผ่อนชำระใหม่ให้มีการแบ่งเบาภาระการผ่อนชำระในระยะ 1 –
2 ปี แรกของการผ่อนชำระเวลาที่เหลือจนชำระหนี้เสร็จสิ้น

           12. ขอชะลอการยึดทรัพย์ ลูกหนี้ที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว
ลูกหนี้อาจขอให้ชะลอการยึดทรัพย์ได้ โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนายความ
รวมถึงค่าพาหนะในการเดินทางของทนายความไปเลื่อนคดีตามที่จ่ายจริง
และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการบังคับคดีให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองภายในเวลาไม่เกิน 3
เดือน โดยต้องชำระหนี้บางส่วนก่อนตามจำนวนที่ตกลง
โดยถ้าราคาประเมินหลักประกันสูงกว่ายอดหนี้เกินร้อยละ 80
ลูกหนี้อาจทำสัญญากู้ใหม่ได้
เมื่อได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงกับสถาบันการเงินติดต่อกันแล้วไม่น้อยกว่า 6
งวด

           13. ขอเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญากู้ใหม่ กู้เพิ่ม
หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญา โดยเงื่อนไขปกติก็ คือ
ลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลค่าใช้จ่ายต่างๆ
ในชั้นฟ้องคดีและชั้นบังคับคดีให้หมดเสียก่อน
และลูกหนี้เดิมจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้ขอประนอมหนี้ไว้
จากนั้นจึงค่อยให้ผู้กู้รายเดิมหรือผู้กู้รายใหม่ ยื่นคำขอกู้ต่อไ
 

13 หนทางฝ่าวิกฤติ...ผ่อนบ้านไม่ ไหว surf for you

"13 หนทางฝ่าวิกฤติ...ผ่อนบ้านไม่
ไหว

           ความผันผวนของเศรษฐกิจบ้านเราที่ดีๆ ร้ายๆ
สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปอยู่ตลอดเวลานับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากจำต้องเผชิญปัญหา
"กระแสรายได้มีไม่พอที่จะผ่อนชำระค่างวดบ้าน" ไปตามๆ กัน

           ซึ่งปัญหาลักษณะนี้หากปล่อยปละละเลย
หรือแก้ไขอย่างไม่ถูกต้องแล้ว
ก็จะมีผลทำให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตรุนแรงขึ้นได้
อาจเลวร้ายจนถึงขั้นต้องถูกฟ้องร้องและสูญเสียบ้านอยู่อาศัยไปในที่สุดและยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาอื่นๆ
ในครอบครัวตามมาอีกนานัปการ

           ที่จริงแล้วการผ่อนบ้านไม่ไหวเป็นปัญหาระยะสั้นชั่วครั้งชั่วคราว
ที่ไม่ใช่ปัญหาเลวร้ายแต่ประการใด
เป็นเพียงปัญหาปกติที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้

           เพียงทว่าผู้โชคร้ายที่ตกอยู่ในภาวการณ์ดังกล่าวจะต้องรีบรักษาและเยียวยาให้ได้อย่างทันท่วงทีเท่านั้น
ก็จะสามารถผ่อนหนักเป็นเบา และหลุดรอดจากห้วงเวลาที่เกิดวิกฤติการณ์ได้


เป็นที่น่าเสียดายว่าการถูกยึดบ้านหรือถูกฟ้องล้มละลายของคนจำนวนมากล้วนเกิดขึ้นจากสาเหตุจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นสำคัญ
จากการไม่ได้ดูแลจัดการปัญหาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก
ทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตกลายเป็นวิกฤติการณ์จนยากเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ในที่สุด

           ปกติเวลาคนทั่วไปเผชิญกับปัญหาผ่อนค่างวดบ้านไม่ได้
สิ่งที่นิยมกระทำกันก็คือหยุดส่งค่างวดไปเฉย ๆ พร้อมๆ
กับการหนีหายไม่ติดต่อกับสถาบันการเงิน

           การจัดการปัญหาลักษณะนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดเป็นอย่างยิ่ง
เพราะเป็นการซ้ำเติมให้สภาพปัญหายิ่งเลวเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

           แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
ก็คือจะต้องรีบเจรจาขอผ่อนผันและประนอมหนี้กับสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ให้ได้
เพื่อปรับแต่งเงื่อนไขข้อผูกพันรายจ่ายค่างวดบ้านใหม่เป็นการชั่วคราว
ให้เกิดสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่ายของครอบครัวขึ้นอันจะมีผลทำให้สามารถยืนหยัดฝ่าฟันจนกระทั่งวิกฤติการณ์ผ่านพ้นไปได้

           โดยทั่วไปแล้วคนที่เผชิญกับปัญหาผ่อนค่างวดบ้านไม่ได้มีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยจนถึงขั้นปัญหาขั้นรุนแรง
มีหนทางในการเจรจาเพื่อขอผ่อนผันและประนอมหนี้
กับสถาบันการเงินอยู่มากมายถึง 13 หนทางด้วยกัน คือ

           1. ขอผ่อนผันชำระยอดหนี้ค้างชำระ
โดยลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระคืนยอดหนี้ที่ค้างได้นานสูงสุด 36 เดือน
ติดต่อกันโดยทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรกเป็นการขอเฉลี่ยหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดออกเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ
กัน และผ่อนชำระคืนติดต่อกันทุกเดือน
ลักษณะที่สองเป็นการชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในเวลาที่ตกลง ( ไม่เป็นงวด )
หรือลักษณะสุดท้ายเป็นการขอชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนเป็นงวดๆ
ตามเวลาที่ตกลง

           2. ขอขยายเวลาชำระหนี้
ลูกหนี้สามารถขอขยายระยะเวลากู้เงินต่อไปได้ถึง 30 ปี นับจากปัจจุบัน
เพื่อลดเงินงวดให้น้อยลง
ซึ่งเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คืออายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอขยายแล้วจะต้องไม่เกิน
70 ปี และดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมด (ถ้ามี)
ลูกหนี้จะต้องชำระให้หมดเสียก่อน

           3. ขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดได้
ลูกหนี้สามารถขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระพร้อมกับขยายระยะเวลากู้เงินได้
โดยเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนการขอกู้เพิ่ม
ลูกหนี้จะต้องชำระเงินงวดอย่างสม่ำเสมอ
และเมื่อนำวงเงินที่ขอกู้เพิ่มรวมกับเงินต้นคงเหลือแล้ว
เงินงวดใหม่ต้องมากกว่าไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินงวดเดิม

           4. ขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน
ในบางช่วงเวลาลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือนได้
ปกติเงื่อนไขแบบนี้จะให้เฉพาะกับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระคืนที่ดีเท่านั้น
และระยะเวลาผ่อนชำระจะให้ได้นานสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว

           5. ขอชำระต่ำกว่าเงินงวดปกติ ปกติเงื่อนไขการขอผ่อนผันแบบนี้
มักกำหนดให้จำนวนเงินที่ชำระต่ำกว่าเงินงวดปกตินั้น
ต้องมากกว่าดอกเบี้ยประจำเดือนอย่างน้อย 500 บาท
ระยะเวลาผ่อนชำระได้นานสูงสุดไม่เกิน 2 ปี และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว

           6. ขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ
เป็นการขอผ่อนผันในกรณีที่ลูกหนี้ถูกปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากอัตราปกติ
ลูกหนี้สามารถแจ้งขอลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ชำระเงินได้หากลูกหนี้ได้ชำระเงินตามเงื่อนไข
คือชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในวันเดียว
(รวมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดด้วย)
หรือชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเท่ากับ 3 งวด

           7. ขอโอนบ้านให้กับสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราว
แล้วซื้อคืนภายหลัง ปกติสถาบันการเงินจะรับโอนหลักประกัน
โดยหักกลบลบหนี้ในจำนวนไม่เกิน 90 % ของมูลค่าหลักประกัน
หากมีหนี้ส่วนที่เกิน ลูกหนี้จะต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่โอน
โดยหลักประกันจะต้องอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
หรือในเขตเทศบาลของจังหวัดอื่นเท่านั้น
สถาบันการเงินจะคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 0.4 – 0.6 %
ของมูลค่าหลักประกัน ทำสัญญา 1 ปี เมื่อครบกำหนด 1 ปี
แล้วจะต่อสัญญาจากพฤติกรรมการอยู่อาศัยและการปฏิบัติตามสัญญาเช่า
ผู้เช่าต้องวางเงินประกันค่าเสียหายในวงเงินค่าเช่า 1 เดือน
พร้อมทั้งชำระค่าเช่าล่วงหน้า 1 เดือน ภายใน 3 ปี
นับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อผู้เช่ารายใดมีความประสงค์ที่จะขอซื้อคืน
สถาบันการเงินจะขายคืนให้
ราคาที่ขายคืนปกติจะพิจารณาจากยอดหนี้คงเหลือที่ใช้หักกลบลบหนี้กับหลักประกัน
ทั้งนี้ในการซื้อคืนของลูกหนี้ผู้เช่าอยู่อาศัยสามารถขอสินเชื่อได้ด้วย

           8. ขอให้สถาบันการเงินชะลอฟ้อง
เงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือลูกหนี้จะต้องชำระเงินติดต่อกันให้ทันงวดภายใน 6
เดือน แล้วผ่อนชำระต่อตามสัญญาเดิม หรือขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน
โดยไม่ผิดนัดเป็นเวลาไม่เกิน 12 เดือน
เมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาที่ขอผ่อนผันแล้ว
หากลูกหนี้ชำระหนี้ตามข้อตกลงโดยไม่ขาดส่ง
สถาบันการเงินก็จะคำนวณเงินงวดใหม่ที่ลูกหนี้ต้องชำระต่อไป

           9. ขอให้สถาบันการเงินถอนฟ้อง
เงื่อนไขในการขอประนอมหนี้แบบนี้ก็คือลูกหนี้ที่ถูกฟ้องจะต้องมาติดต่อชำระหนี้ทันงวดและไม่มีดอกเบี้ยค้าง
พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมศาลและค่าใช้จ่ายครบถ้วน

           10. ขอให้ชะลอการขายทอดตลาด
ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินยึดทรัพย์แล้วรอการขายทอดตลาด
อาจเจรจาขอให้ชะลอการขายไว้ก่อนได้
โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลค่าใช้จ่ายต่างๆ
ในชั้นฟ้องคดีและบังคับคดี
รวมทั้งค่าพาหนะในการเดินทางของทนายความไปเลื่อนการขายตามที่จ่ายจริงให้ครบถ้วน
แล้วให้ลูกหนี้ชำระหนี้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 งวด
โดยหนี้ที่เหลือต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักประกันใหม่
แล้วให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ใหม่

           11. ขอยอมความกับสถาบันการเงิน ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องคดีแล้ว
ลูกหนี้อาจขอยอมความกับสถาบันการเงินได้โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี และค่าทนายความให้ครบถ้วน
โดยเงื่อนไขของการขอยอมความที่สำคัญ
ก็คือลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือขอกำหนดเงินงวดผ่อนชำระใหม่ให้มีการแบ่งเบาภาระการผ่อนชำระในระยะ 1 –
2 ปี แรกของการผ่อนชำระเวลาที่เหลือจนชำระหนี้เสร็จสิ้น

           12. ขอชะลอการยึดทรัพย์ ลูกหนี้ที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว
ลูกหนี้อาจขอให้ชะลอการยึดทรัพย์ได้ โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนายความ
รวมถึงค่าพาหนะในการเดินทางของทนายความไปเลื่อนคดีตามที่จ่ายจริง
และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการบังคับคดีให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองภายในเวลาไม่เกิน 3
เดือน โดยต้องชำระหนี้บางส่วนก่อนตามจำนวนที่ตกลง
โดยถ้าราคาประเมินหลักประกันสูงกว่ายอดหนี้เกินร้อยละ 80
ลูกหนี้อาจทำสัญญากู้ใหม่ได้
เมื่อได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงกับสถาบันการเงินติดต่อกันแล้วไม่น้อยกว่า 6
งวด

           13. ขอเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญากู้ใหม่ กู้เพิ่ม
หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญา โดยเงื่อนไขปกติก็ คือ
ลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลค่าใช้จ่ายต่างๆ
ในชั้นฟ้องคดีและชั้นบังคับคดีให้หมดเสียก่อน
และลูกหนี้เดิมจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้ขอประนอมหนี้ไว้
จากนั้นจึงค่อยให้ผู้กู้รายเดิมหรือผู้กู้รายใหม่ ยื่นคำขอกู้ต่อไ